วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

รายงาน กระทิงแดง

4.3 วิเคราะห์คู่แข่ง

นับตั้งแต่ การเปิดตัว แบรนด์ “ลิโพวิตันดี) โดยการจัดจำหน่ายของ บริษัทโอสถสภา เป็นต้นมา อุตสาหกรรมเครื่องดื่มชูกำลังได้ต้อนรับแบรนด์น้องใหม่มากมายหลายสิบยี่ห้อ ที่บ้างก็อยู่ยืนยาว และบ้างก็เป็นแค่กระแสสั้นๆ จนทุกวันนี้ เหลือแบรนด์ที่สามารถฝ่าฟันอุปสรรคจนจัดว่าเป็น “ยักษ์ใหญ่” ในวงการเพียง 3 แบรนด์เท่านั้น ได้แก่
1. “เอ็ม 150” ของ บริษัท โอสถสภา จำกัด
2. “คาราบาวแดง” ของ บริษัท คาราบาว ตะวันแดง จำกัด

โดยที่ เอ็ม 150 ของ โอสถสภาเป็นผู้นำตลาดในระยะหลังมาโดยตลอด โดยครอบครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% ซึ่งนับว่ายังมีการเติบโตอยู่เมื่อเทียบกับส่วนแบ่งเดิม (ในปี 2547 มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 42%)
และคู่แข่งอีกสองรายที่แม้ไม่อาจเทียบ เอ็ม 150 ได้ แต่ก็จัดว่าได้ส่วนแบ่งการตลาดไปไม่น้อยคือ คาราบาวแดง ที่นับว่าเป็นแบรนด์น้องใหม่แบรนด์หนึ่งที่อาศัยการประชาสัมพันธ์เรียกความสนใจไปได้อย่างสวยงาม จนได้ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันถึง 25% และ กระทิงแดง แบรนด์เก่าแก่ที่หันไปเอาดีในตลาดโลก ที่ได้ส่วนแบ่งในประเทศไปถึง 20%
จะเห็นได้ว่า เหลือที่ว่างให้แบรนด์อื่นๆเพียง 5% เท่านั้น ทั้งๆที่มีแบรนด์อื่นๆอีกมากมาย เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมนี้มีความกระจุกตัวของคู่แข่งขันสูง และยังเป็นคู่แข่งขันที่มีอำนาจมากยิ่ง ทำให้ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการรายใหม่มากมาย ที่เปิดตัวขึ้นมา และต้องจากไปในเวลาอันสั้น เนื่องจากไม่สามารถทนต่อแรงแข่งขันที่กดดันมากเช่นนี้ได้

เส้นทางสู่เจ้าตลาดของ M-150

กลยุทธ์ที่ M-150 ใช้ในการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากกระทิงแดง คือ กลยุทธ์ Multi-Brand โดยการสร้างความหลากหลายของตัวสินค้า จากที่กระทิงแดงยังมีจุดอ่อนเนื่องจากใช้เพียงหนึ่งแบรนด์ในการเจาะตลาดทุกระดับทั่วประเทศ แต่มีความแข็งแกร่งอย่างมากในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น M-150 มองเห็นจุดอ่อนทางภาคใต้และภาคเหนือจึงออกแบรนด์ฉลามมาเพื่อให้ต่อสู้กับกระทิงแดง ซึ่งมุ่งเจาะตลาดทางภาคเหนือและภาคใต้ และยังไม่ทิ้งฐานที่มั่นสำคัญคือภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้ก M-150 เป็นหัวหอกสำคัญเพื่อต่อสู้โดยตรงกับกระทิงแดง ด้วยวิธีการที่เรียกว่าการทำตลาดเชิงรุก (Offensive) แบบการจู่โจมจุดอ่อนของคู่แข่ง (Franking Attack) ในส่วนของลิโพวิตันดีก็มีการ Re-positioning ใหม่ เพื่อปรับภาพลักษณ์เจาะตลาดคนทำงานบริษัท (White Collar) นอกจากนั้น M-150 ยังใช้กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix: 4Ps) ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย(Place) และ การส่งเสริมการขาย (Promotion) โดยที่ผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ให้ทันสมัยมากขึ้น ด้านกลยุทธ์ราคาจะใช้วิธีการลดราคาจากขวดละ 12 บาท เหลือเพียงขวดละ 10 บาท

ด้านกลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย M-150 ได้ร่วมมือกับบริษัทเสริมสุขซึ่งมีการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มที่แข็งแกร่งครอบคลุมทุกพื้นที่ทำให้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง และกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย มีการจัดกิจกรรมจับรางวัลชิงโชค (Lucky Draw) การเปิดฝาแลกรับของรางวัล (Instant Win) รวมถึงวิธีการ Sports Marketing โดยการทำกิจกรรมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านกีฬา ด้วยแนวคิด "พลังเอ็ม...พลังใจเกินร้อย" และวิธีการ Localize Marketing เช่น เพิ่มกิจกรรมเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายหลัก จากการจัดกิจกรรมทัวร์คอนเสิร์ตลูกทุ่ง การฉายหนังกลางแปลงตามต่างจังหวัด
จากอัตราการขยายตัวของตลาดเครื่องดื่มชูกำลังที่สูงขึ้นเนื่องมาจากการที่ทุกแบรนด์มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องและสามารถขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น ทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เริ่มสนใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจประเภทนี้ รวมถึง แอ๊ด คาราบาว ที่มีความสนใจในธุรกิจประเภทนี้เช่นกัน โดยผลิตเครื่องดื่มชูกำลังภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า คาราบาวแดง การเข้ามาของแบรนด์คาราบาวแดงนี้ส่งผลให้ตลาดเริ่มมีการแข่งขันอย่างดุเดือดมากขึ้น และที่สำคัญคือ แอ๊ด คาราบาว ซึ่งจัดได้ว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานอย่างมากได้มาเป็นเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้านี้เองอีกด้วย

ส่งผลให้ผู้ครองส่วนแบ่งการตลาดใหญ่อย่าง M-150 และกระทิงแดงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อป้องกันการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะแบรนด์ M-150 ใช้วิธีการทำตลาดเชิงรุก (Offensive) และการทำตลาดเชิงรับ (Defensive) โดยใช้วิธีการ Re-positioning พร้อมกับปรับภาพลักษณ์ โดยเน้นกิจกรรมการตลาดด้านดนตรี (Music Marketing) เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มวัยรุ่น (Teenage) และกลุ่มคนรุ่นใหม่ (New Generation) มีการนำนักร้องชายและหญิง ที่มีชื่อเสียงจากบริษัทแกรมมี่เข้ามาเป็นพรีเซนเตอร์ โดยการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา สื่อกลางแจ้ง การแสดงคอนเสิร์ต และกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น การสนับสนุนกิจกรรมกีฬาชกมวย กีฬาฟุตบอล การประกวดวงดนตรีชิงแชมป์เวทีโลก นอกจากนี้ยังเน้นการทำกิจกรรม Below The Line เพื่อเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายด้วยการจับรางวัลชิงโชคอย่างสม่ำเสมอ M-150 ยังทำกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) มีโครงการอบรมและประกวดภาพยนตร์โฆษณา ชุดคลายร้อนให้โลก รวมถึง M-150 ยังเป็นแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังรายแรกที่มีการใช้สื่อโฆษณาผ่านโรงภาพยนตร์เพื่อหวังที่จะเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นให้ได้มากกว่าเดิม ความพยายามทำกิจกรรมการตลาดอย่างมากนี้เองจึงทำให้ M-150 เป็นแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังที่ใช้จ่ายงบโฆษณาการทำกิจกรรมทางการตลาดมากที่สุด
จากที่กล่าวมา เริ่มแรก M-150 ได้มีการใช้กลยุทธ์ทำกิจกรรมการตลาดในเชิงรุกจึงทำให้ M-150 สามารถกลายมาเป็นผู้นำทางการตลาดเครื่องดื่มชูกำลังได้สำเร็จ และมีการทำกิจกรรมทางการตลาดทั้งเชิงรุกและเชิงรับเรื่อยมาจึงยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งได้จนถึงปัจจุบันนี้
แม้ว่า เอ็ม - 150 ซึ่งตกเป็นเป้าหมายของกระทิงแดงและคาราบาวแดง จะประเมินว่าคู่แข่งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คาดการณ์ไว้ แต่ เอ็ม – 150 ก็ยังคงเดินหน้าทำตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของการโฆษณานั้นจะยังคงใช้ 4 นักร้องเป็นพรีเซ็นเตอร์เช่นเดิม เพียงแต่จะเปลี่ยนแนวมาสนับสนุนให้คนมีน้ำใจมากขึ้น

คาราบาวแดง
จะให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ Below the Line เช่นกัน ด้วยการโยกเงินบางส่วนที่เคยลงไปกับการโฆษณาทางโทรทัศน์มาใช้ในการทำกิจกรรม ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ ดนตรี กีฬา และการศึกษา โดยจะให้ความสำคัญกับกิจกรรมด้านกีฬาเป็นพิเศษ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น หลังจากที่สร้าง Brand Awareness จนแข็งแกร่งแล้วจากการโหมโฆษณาอย่างต่อเนื่องเมื่อปีที่ผ่านมา



4.4 conclusion of market structure analysis
Red Bull
สถานการณ์ที่ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้งกลยุทธ์การตลาดและวิธีส่งเสริมการขายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกโฆษณาเพื่อหวังสร้างแบรนด์และดึงดูดใจผู้บริโภค ไม่เว้นแม้แบรนด์เก่าแก่อย่างกระทิงแดง ที่กลับมาพร้อมแนวคิด"ลูกผู้ชายตัวจริง กระทิงแดง” เครื่องดื่มชูกำลังในปัจจุบันได้ถูกสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับวัยรุ่น คนรุ่นใหม่มากขึ้น ( จากเดิมเป็นเครื่องดื่มของผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก ) สำหรับ Red Bull ที่ค่ายบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง ได้นำออกสู่ตลาดถูกวางตำแหน่งทางการตลาดให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับคนรุ่นใหม่เช่นกัน ภาพลักษณ์ใหม่ที่เป็นเครื่องดื่มของคนทันสมัยนี้ ทำให้ Red Bull แตกต่างจากเครื่องดื่มกระทิงแดงโดยสิ้นเชิง เห็นได้จากการให้ความสำคัญในเรื่องบรรจุภัณฑ์ หรือ แพ็คเกจจิ้ง ที่ออกแบบ ให้สีสัน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายและมีสีสันมากขึ้น เป้าหมายหลัก ของดีไซน์ใหม่นี้ คือ ต้องการให้แบรนด์สินค้าดูทันสมัยขึ้น เพื่อส่งเสริมและตอกย้ำแบรนด์ให้ชัดเจนต่อกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น หลังจากประสบความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่จดจำในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นและวัยทำงานมาแล้ว

++Global mindset
++++ทางบริษัทมีการปรับรูปแบบการตลาดและการบริหารต่างๆให้สอดคล้องกับทุกประเทศที่จะเข้าไปทำธุรกิจ เนื่องจากทางบริษัทได้เล็งเห็นว่า การที่เราจะเข้าไปลงทุนในประเทศใดก็ตามนั้นย่อมจะต้องมีความกลมกลืน สอดคล้องไปกับสิ่งที่เค้าเป็นอยู่ เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆได้อย่างสะดวก และเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ

++Create value
++++ทางบริษัทมีการพยายาม Create Value ในรูปแบบใหม่ๆ ที่ต่างไปจากเครื่องดื่มชูกำลังในรูปแบบเดิมๆในตลาด ถือเป็นงานหนักถึงหนักมากในการพยายาม Re Positioning ใหม่ในครั้งนี้
ในอดีตกระทิงแดงก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดด้วยการใช้กลยุทธ์การตลาดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายระดับ mass กระทิงแดงจะเน้นไปที่การใช้กลยุทธ์โปรโมชั่น โดยเฉพาะกับโปรโมชั่นโชคใต้ฝาในลักษณะของ Instance Win ที่ได้กลายเป็นสงครามโปรโมชั่นในยุคหนึ่งระหว่างกระทิงแดงกับเครื่องดื่มชูกำลังของค่ายโอสถสภาที่ออกสินค้าเป็น multi brand ทั้งลิโพวิตัน-ดี เอ็ม 150 และ ฉลาม มาตีโอบ กระทิงแดง โดย Brand หลังนี้ โอสถสภา วางเป็น Fighting Brand เพื่อบล็อกกระทิงแดงในส่วนล่างสุด กลยุทธ์ multi brand ของค่ายโอสถสภา ดูจะใช้เขย่าบัลลังก์ของกระทิงแดงไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะไม่ว่าโอสถสภาจะงัดกลยุทธ์อะไรออกมาห้ำหั่น ก็ไม่สามารถทลายปราการอันแข็งแกร่งของ Brand กระทิงแดงลงได้ แถมในบางครั้ง กลยุทธ์ที่กระทิงแดงนำมาใช้กลับสร้างความสั่นสะเทือนให้กับคู่แข่งขัน จนแล้วจนรอดกระทิงแดงก็ยังคงครองความเป็นผู้นำ ทิ้งให้โอสถสภาตามมาเป็นที่ 2 เข้าสู่ยุคปัจจุบัน แม้กระทิงแดงจะยังคงครองเป็นผู้นำ แต่ก็อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สู้จะดีนัก เพราะ ส่วนแบ่งตลาดที่ถือครองอยู่จากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ต้องลดลงเหลือแค่ 40 เปอร์เซ็นต์ ไม่เพียงแต่กระทิงแดงต้องแข่งกับโอสถสภาเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งกับ Brand ใหม่ๆ อย่างแรงเยอร์ ที่โหมใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขายอย่างหนักเพื่อแจ้งเกิด ขณะที่กระทิงแดงในช่วง 2-3 ปีหลัง มานี้ มีการปรับนโยบายใหม่ไม่เน้นที่การทำโปรโมชั่นซึ่งเคยเป็นสูตรสำเร็จของ ตัวเอง แต่หันมาเน้นที่การสร้างBrand..imageแทน
++++สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยให้กระทิงแดงต้องเสียส่วนแบ่งการตลาดที่ครองอยู่ให้กับคู่แข่ง สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้กระทิงแดงต้องมีการปรับกลยุทธ์ขนานใหญ่ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำ โดยมีการ Re-Positioning ตัวเองใหม่ หันไปเล่นกับตลาดที่สูงขึ้น พร้อมทั้งพุ่งเป้าไปที่การทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่เป็นวัยรุ่น และคนทำงานรุ่นใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นความพยายามในการเป็นผู้เล่นรายแรกที่เข้าไปปักธงในตลาดดังกล่าว กระทิงแดงมีการปรับภาพตัวเองใหม่ ชู Benefit ในเรื่องของ Nationalism ด้วยการขายความภาคภูมิใจที่เป็น Brand ของคนไทย(ในเวลานั้น)ที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลกในนามของ Red Bull ก้าวแรกของการ Re-Positioning ของกระทิงแดงก็คือ การจูนภาพของกระทิงแดง เอ็กซ์ตร้า กระทิงแดงชนิดกระป๋องที่ออกมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่ ให้ Positioning ชัดเจนขึ้น โดยจะใช้คำว่า “Red Bull” ปะหัวเข้าไป เรียกชื่อใหม่สั้นๆ ว่า Red Bull Extra พร้อมวางเป็นเครื่องดื่มชูกำลังที่มีบุคลิกของ Brand เป็น Entertainment Drink ที่เล่นกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคทั้งในยามกลางวันกับกีฬากลางแจ้งในรูปแบบใหม่ๆ และเวลาพักผ่อนยามค่ำคืนในสถานที่เที่ยวต่างๆ เช่น ผับ และเธค ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับการแจ้งเกิดของ Red Bull ในต่างประเทศไม่เพียงเท่านั้น กลยุทธ์ที่ใส่เข้าไปยังเป็นกลยุทธ์ที่ใกล้เคียงกับการทำตลาดของ Red Bull ในต่างประเทศ นั่นคือ การเข้าไปทำกิจกรรมกับสถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืนของกลุ่มเป้าหมายและการส่งเสริมกิจกรรมกีฬากลางแจ้งที่เป็นไฟล์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายอย่างกีฬาประเภท X-Game เป็นต้น

“กระทิงแดง” มาดใหม่กล้าที่จะเปลี่ยน เพื่อทวงแชมป์

หลังจากกลับมาบุกตลาดอย่างจริงจังด้วยแคมเปญลูกผู้ชายตัวจริงเมื่อปีที่ผ่านมา กระทิงแดงยังเดินหน้ารุกตลาดอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เริ่มจากการปรับโฉมใหม่ตั้งแต่ต้นปี โดยถือว่าเป็นการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ในรอบกว่า 30 ปี รวมทั้งยังเดินหน้าทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือการแข่งขัน และมุ่งมั่นที่จะทวงแชมป์จาก เอ็ม-150 ให้ได้ภายใน 5 ปี



กระทิงแดงใหม่ ลบภาพสิบล้อ

@ แม้ว่าจริง ๆ แล้วรูปโฉมจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มชูกำลังของผู้บริโภค แต่กระทิงแดงก็มั่นใจว่าการปรับแพ็กเก็จจิ้งในครั้งนี้จะก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยา คือทำให้ผู้บริโภคอยากทดลองดื่มสินค้า

@ ด้วยเหตุนี้กระทิงแดงโฉมใหม่จึงวางตลาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา หลังจากใช้เวลาในการพัฒนามาร่วมปี โดยเป็นขวดทรงแปดเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในขนาดบรรจุ 150 มล.เท่าเดิม ปากขวดก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อสะดวกในการดื่ม ขณะที่สีสันของฉลากก็ดูสดใสด้วยโลโก้สีแดง เหลือง บนพื้นสีน้ำเงิน

@ กระทิงแดงหวังว่า การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ ให้ดูหล่อ เท่ ขึ้นนี้ จะช่วยลดภาพความเป็นเครื่องดื่มสำหรับคนขับรถสิบล้อและผู้ใช้แรงงานลง และเพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ ซึ่งใส่ใจในเรื่องของภาพลักษณ์ ให้กล้าดื่มกระทิงแดงอย่างเปิดเผยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้กระทิงแดงขยายตลาดได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

มาดใหม่ลูกผู้ชายตัวจริง ต้องกล้าเปลี่ยน

@ นอกจากงบประมาณ 1,000 ล้านบาทที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตแล้ว กระทิงแดงยังทุ่มงบประมาณอีก 150 ล้านบาทจากงบประมาณรวม 500 ล้านบาทในปีนี้ สำหรับการโฆษณาและส่งเสริมการขายในช่วง 3 เดือนแรก เพื่อผลักดันให้กระทิงแดงโฉมใหม่เขย่าตลาดได้อย่างคึกคัก

@ โดยในส่วนของการโฆษณานั้น กระทิงแดง ยังคงสานต่อแนวคิดลูกผู้ชายตัวจริงกระทิงแดงในภาพยนตร์โฆษณาใหม่ ชุด”เปลี่ยน” ซึ่งกระทิงแดงโฉมใหม่ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ 2 โจรหนุ่ม กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี เพียงแค่เดินผ่านรถที่มีภาพกระทิงแดงมาดใหม่ และข้อความสั้น ๆ ว่า “ลูกผู้ชายต้องกล้าที่จะเปลี่ยน” เท่านั้น

@ เรียกว่านอกจากจะบอกกล่าวถึงการะเปลี่ยนโฉมของสินค้าแล้ว กระทิงแดงยังฉวยโอกาสนี้ตอกย้ำ Brand Image ที่พยายามสร้างให้แบรนด์กระทิงแดงเป็นคนดีและช่วยเหลือสังคมมาตั้งแต่ต้นปี 2546 ด้วย

Road Show & Free Sampling

@ นอกจากการโฆษณาผ่าน Mass Media แล้ว ในปีนี้ กระทิงแดง จะให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสสัมผัสกับกระทิงแดงโฉมใหม่กว้างขวางที่สุด โดยจะใช้งบในการจัดกิจกรรมถึง 60 % ของงบรวม 500 ล้านบาท

@ ไม่ว่าจะเป็นการนำขวด Mock up กระทิงแดงโฉมใหม่ซึ่งมีความสูงถึง 7 เมตร ออกไป Road Show ตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่สัญจรของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ อนุสาวรีชัยสมรภูมิ จตุจักร หมอชิต และในต่างจังหวัด โดยจะมีสาวกระทิงแดงออกไปทำ People Billboard เพื่อดึงดูดความสนใจด้วย

@ นอกจากนี้ยังมีการแจกสินค้าขวดใหม่ให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลองมากถึง 1 ล้านขวด โดยจะกระจายแจกใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่กระทิงแดงกลับมาใช้กลยุทธ์นี้อีกครั้ง หลังจากที่เคยใช้ได้ผลอย่างมากในช่วงเปิดตัวเข้าสู่ตลาดเมื่อ 30 ปีก่อน

@ โดยเป้าหมายสำคัญในการแจกสินค้าให้ทดลองดื่มก็คือ เพื่อทำให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลองรสชาติที่เข้มข้นขึ้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนกระบวนการฆ่าเชื้อ ซึ่งนอกจากจะถูกใจลูกค้าประจำมากขึ้นแล้ว ยังหวังว่าจะทำให้กลุ่มที่ไม่ใช่ผู้ดื่มกระทิงแดง เกิดการสวิทช์แบรนด์

Entertainment Marketing

@ นอกจากนี้ กระทิงแดง จะยังคงใช้กลยุทธ์ Entertainment Marketing อย่างต่อเนื่อง จากอดีตที่กระทิงแดงเคยมีการจัดงานวัด จัดทัวร์คอนเสิร์ตกับลูกทุ่งเวทีไทย และการจัดงานอะเมซซิ่ง กระทิงแดง แต่ในปีนี้รูปแบบ Entertainment Marketing จะแตกต่างไปจากของเดิม ทั้งนี้เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และเพื่อสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ดื่มกระทิงแดง ซึ่งจะได้สิทธิ์ในการเข้าร่วมรายการที่กระทิงแดงจัดขึ้น

@ เริ่มจากการจัดโชว์ “กระทิงแดง คนกล้า..ท้ามฤตยู” ซึ่งเป็นการแสดงผาดโผนบนเส้นลวดกลางอากาศของครอบครัวจีวิสเตอร์ ไวส์ไฮท์ จากประเทศเยอรมัน มาเปิดการแสดงใน 30 จังหวัด โดยผู้สนใจเข้าชมต้องนำฝากระทิงแดงมาดใหม่ 10 ฝามาแลกบัตรได้บริเวณหน้างาน ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – กลางเดือนเมษายน ด้วยงบประมาณกว่า 50 ล้านบาท

มั่นใจเป็นเบอร์หนึ่งใน 5 ปี

@ ปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ที่กระทิงแดงกลับมาทำตลาดในประเทศอย่างจริงจัง โดยเป้าหมายสำคัญก็คือการกลับมาเป็นเจ้าตลาดแทน เอ็ม – 150 ภายใน 5 ปีข้างหน้า

@ แต่สำหรับปีนี้ กระทิงแดงหวังว่าจะเติบโตจากปีที่ผ่านมา 15 % ขณะที่ตลาดรวมจะเติบโตไม่ถึง 10 % ซึ่งจะทำให้ช่วงห่างของส่วนแบ่งการตลาดระหว่างกระทิงแดงและเอ็ม – 150 ซึ่งอยู่ที่ 32 % และ 48 % แคบเข้า

@ เพียงแต่ว่าเป้าหมายของกระทิงแดงอาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น